อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์ ได้แก่ แผ่นหนัง เขม่าก้นหม้อหรือเถ้าจากกาบมะพร้าว น้ำข้าว ใบฟักข้าว สิ่ว มุก สีธรรมชาติ ไม้ไผ่วิธีการเล่น หนังใหญ่ประกอบด้วย
๑. ตัวหนังที่ใช้เชิดต้องใช้ช่างฝีมือแกะสลักลวดลายเชิงจิตรกรรมอันวิจิตรบรรจง
๒. ดนตรีประกอบ เป็นการรวมของการแสดงดนตรีวงใหญ่ วงมโหรีปี่พาทย์ ด้วยการบรรเลงทั้งบทร้อง บทพากย์ บทเจรจา
๓. คนเชิด นับเป็นศิลปะการแสดงนาฎศิลป์ชั้นสูง ท่วงท่าการเชิดประกอบบทพากย์ บทร้องต้องดำเนินไปอย่างมีลีลา ที่จะให้ผู้ชมบังเกิดจินตภาพคล้อยตามอย่างเพลิดเพลินสนุกสนาน
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การแสดงหนังใหญ่ นับเป็นมหรสพที่ชาวไทยนำมาแสดงกันนานหลายร้อยปี จากหลักฐานในกฎมณเฑียรบาล พ.ศ. ๒๐๐๑ สมัยพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งอยุธยาตอนต้น ได้บันทึกไว้ว่าหนังใหญ่เป็นมหรสพที่นิยมในสมัยนั้น แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นวัฒนธรรมของใคร เพราะการแสดงชนิดเดียวกันนี้เผยแพร่อยู่ในทวีปเอเซีย นับตั้งแต่วัฒนธรรมอินเดียและวัฒนธรรมจากอาณาจักรศรีวิชัย การแสดงหนังใหญ่ยังคงนิยมแสดงกันอย่างต่อเนื่องมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ มีช่างฝีมือแกะตัวหนังใหญ่ได้สวยงาม วิจิตรบรรจงมีสีสันสวยงามตระการตา เฉพาะชุดพระนครไหว หนังชุดนี้ถูกไฟไหม้ พ.ศ. ๒๕๐๓ การแสดงหนังใหญ่เป็นมหรสพที่เล่นในตอนกลางคืน อุปกรณ์ที่ใช้แสดงมีตัวหนัง ผู้เชิด คณะผู้เล่นวงมโหรีปี่พาทย์ ผู้ร้อง ผู้พากย์ ที่นิยมแสดงมากที่สุด คือ เรื่องรามเกียรติ โดยเลือกตอนใดตอนหนึ่งเช่นเดียวกับการแสดงโขนคุณค่า / แนวคิด /