เกราะลอ โดยใช้ไม้หมากหาด(มะหาด) ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง เวลาตีแล้วไม่บวมง่าย มีเสียงดังกังวาน มีการเพิ่มลูกจาก ๙ ลูก เป็น ๑๒ ลูก และ ๑๓ ลูก เพิ่มจาก ๕ เสียง เป็น ๖ เสียง พร้อมกับคิดลายใหม่ๆ เพิ่มขึ้นคือ ลายอ่านหนังสือใหญ่ ลายอ่านหนังสือน้อย ลายสุดสะแนน ลายสร้อยและลายเซ และได้เปลี่ยนชื่อจากเกราะลอมาเป็น "โปงลาง"
อุปกรณ์
การเล่นโปงลางต้องประกอบไปด้วยดนตรีพื้นบ้าน ได้แก่ แคน ซอ พิณ หมากกั๊บแก้บ กลอง ไห นอกจากนี้ปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นโดยมีนักร้องและผู้ร่ายรำประกอบเสียงดนตรีในวงโปงลางอีกด้วยวิธีการเล่น
ทำนองลายโปงลางที่บรรเลงนั้น ได้จากการเลียนเสียงธรรมชาติและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสาน เช่น๑. ลายลมพัดพร้าว ลีลาของเพลงแสดงถึงเสียงลมที่พัดมาถูกใบมะพร้าวจะแกว่งสะบัดตามแรงลมกลายเป็นเสียงและลีลาที่น่าฟังยิ่ง
๒. ลายโปงลาง ลีลาของเพลงนี้จะทำให้ผู้ฟังนึกถึงเสียงกระดิ่งผูกคอวัวที่ดังอยู่ไม่ขาดระยะมองเห็นวัวเดินตามกันเป็นทิวแถวข้ามทุ่ง
๓. ลายช้างขึ้นภู ลีลาของเพลงจะมีความเนิบช้าสง่างาม เหมือนลีลาการเดินของช้างที่กำลังเดินขึ้นภูเขาสูง
๔. ลายแมงภู่ตอมดอกไม้ ลีลาของเพลงจะทำให้มองเห็นภาพของแมลงภู่ ที่บินวนเวียนดูดน้ำหวานจากเกสรดอกไม้เป็นหมู่ๆ พร้อมกับส่งเสียงร้องด้วยความสดชื่นรื่นเริง
๕. ลายนกไซบินข้ามทุ่ง ลีลาของเพลงบรรยายถึงลีลาของนกที่บินเป็นหมู่ข้ามท้องทุ่งอันเขียวขจีด้วยนาข้าว
๖. ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลีลาของเพลงสะท้อนให้เห็นถึงความอ้างว้างว้าเหว่ของหญิงที่ถูกสามีทอดทิ้งต้องกล่อมลูกอยู่เดียวดายตามลำพัง
๗. ลายภูไทยเลาะตูบ ลีลาของเพลงแสดงถึงภาพชีวิตของหนุ่มชาวภูไทที่มักจะแวะเวียนไปพูดกับหญิงสาวตามบ้านต่างๆ ในเวลาค่ำ
นอกจากนั้นยังมีลาย "กาเต้นก้อน" จะใช้เทียบเสียงโปงลางแต่ละลูกหลังจากทำเสร็จเรียบร้อย ซึ่งถือเป็นลายครูของโปงลาง และลายอื่นๆ อีก ซึ่งถือเป็นลายหลัก คือ ลายอ่านหนังสือใหญ่ อ่านหนังสือน้อย สุดสะแนน ลายสร้อย และลายเซ ซึ่งเพียงฟังจากชื่อก็จะรับรู้ถึงท่วงทำนองของเพลงที่กลั่นกรองมาจากชีวิตพื้นบ้าน และธรรมชาติรอบข้าง