ช่วงเวลา ๑๒-๑๕ เมษายนของทุกปี
ลักษณะความเชื่อ
ประเพณีสงกรานต์ชองชาวไทยรามัญ เป็นวัฒนธรรมที่มีคุณค่าแสดงให้เห็นภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิตในด้านการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความรักความอบอุ่นในครอบครัว ความสามัคคีในชุมชน ภูมิปัญญาด้านการรับประกอบอาหาร การแสดงออกด้วยการกระทำต่าง ๆ หลายประการ แสดงให้เห็นถึงในสังคมชาวไทยรามัญ กฎเกณฑ์ของสังคมมีความหมาย มีความสำคัญกว่ากฎหมาย และยังเป็นวันสำคัญที่ชาวไทยรามัญมาชุมนุมกัน
ความสำคัญ
สงกรานต์เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า เคลื่อน หมายถึงดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านเข้าสู่จักรราศีใหม่ การเคลื่อนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เป็นการเคลื่อนครั้งใหญ่เรียกว่า "มหาสงกรานต์" ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่คู่กับคำว่า "ตรุษ" แปลว่า ตัดหรือขาด ถือเป็นวันสิ้นสุดปีเก่า ก่อนขึ้นปีใหม่ในวันมหาสงกรานต์ ชาวไทยรามัญ (มอญ) ให้ความสำคัญกับวันสงกรานต์มากเพราะถือว่านอกจากจะเป็นการแสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษแล้ว ยังเป็นเทศกาลที่ญาติพี่น้องมาพบปะสังสรรค์กันนับเป็นการรวมญาติครั้งใหญ่ที่สุดในรอบปี
พิธีกรรม
ประเพณีสงกรานต์ของชาวไทยรามัญ จะเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๒-๑๕ เมษายน รวม ๔ วัน คือ วันเตรียมสงกรานต์ วันมหาสงกรานต์ หรือวันกรานต์ข้าวแช่ วันเนาหรือวันว่าง แล้ววันขึ้นปีใหม่
สาระ
ประเพณีสงกรานต์ชองชาวไทยรามัญ เป็นวัฒนธรรมที่มีคุณค่าแสดงให้เห็นภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิตในด้านการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความรักความอบอุ่นในครอบครัว ความสามัคคีในชุมชน ภูมิปัญญาด้านการรับประกอบอาหาร การแสดงออกด้วยการกระทำต่าง ๆ หลายประการ แสดงให้เห็นถึงในสังคมชาวไทยรามัญ กฎเกณฑ์ของสังคมมีความหมาย มีความสำคัญกว่ากฎหมาย และยังเป็นวันสำคัญที่ชาวไทยรามัญมาชุมนุมกัน
-
-
ประเพณีภาคกลาง
-
ชัยนาท
-
สมุทรสงคราม
-
สมุทรปราการ
-
-