พิธีบวงสรวงไหว้ครูช่าง (พระพิฆเณศวร์)

  • พิธีบวงสรวงไหว้ครูช่าง (พระพิฆเณศวร์)
  • พิธีบวงสรวงไหว้ครูช่าง (พระพิฆเณศวร์)
  • พิธีบวงสรวงไหว้ครูช่าง (พระพิฆเณศวร์)
ลักษณะความเชื่อ
การประกอบพิธีบวงสรวงนี้ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ช่างผู้ประกอบอาชีพในทางศิลป์ทั่วไป เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ฯลฯ โดยมีความเชื่อว่า พระพิฆเณศวร์เป็นครูช่างศิลป์ เมื่อประกอบพิธีแล้วจะทำให้ช่างผู้นั้นประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพช่าง มีความเจริญ รุ่งเรืองในวิชาชีพ

ความสำคัญ

พิธีบวงสรวงไหว้ครูช่างนั้น มักจะนิยมประกอบพิธีในวันพฤหัสบดี ข้างขึ้น เดือน ๙ ของทุกปี เพื่อให้บรรดาช่างทั้งหลายได้รำลึกถึงบุญคุณที่ทำให้ตนสามารถประกอบอาชีพงานช่างได้เป็นอย่างดีตลอดมา และเป็นการขอพรให้ประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีในปีต่อ ๆ ไป

พิธีกรรม

เช้าตรู่เจ้าพิธีทำพิธีบวงสรวงอัญเชิญเทพ สวดมนต์บทชุมนุมเทวดา รำถวาย ๑ ชุด เจ้าพิธีเจิมหน้าช่างผู้เข้าร่วมพิธี ซึ่งเครื่องพิธี (เครื่องบวงสรวง) จะประกอบด้วย (เทียนแดง บายศรีเทพ บายศรีปากชาม มะพร้าวอ่อน พานพุ่มบัวขาว พานพุ่มกุหลาบสีแดง อย่างละ ๑ คู่) ธูป ๑๖ ดอก กำยาน น้ำอบไทย พวงมาลัย ๒๐ พวง ธูปเทียนแพ ขันน้ำมนต์ เทียนน้ำมนต์ แป้งหอมเจิมหน้า
อาหารคาว ข้าวสุกปากหม้อ หัวหมู เป็ดอบ ไก่นึ่ง ปลาช่อนนึ่ง ปูนึ่ง ไข่ต้ม
อาหารหวาน ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน ขนมชั้น ขนมต้มแดง-ขาว ขนมถ้วยฟู
ผลไม้ ๙ ชนิด ตามฤดูกาล นิยมชื่อผลไม้ที่เป็นมงคล
ถั่วงา ข้าวตอก น้ำเขียว-แดง นมสด