อุปกรณ์และวิธีการเล่น
การแข่งขันเรือบกมีอุปกรณ์และวิธีเล่นดังต่อไปนี้อุปกรณ์
ไม้ไผ่ขนาด ๘ เมตร แทนลำเรือแข่งขนาดใหญ่ และผู้แข่งขัน ๙ คน และไม้ไผ่ ๕ เมตร แทนลำเรือแข่งขนาดเล็กและผู้แข่งขัน ๖ คนวิธีการเล่น
๑. รับสมัครเรือแข่งขนาดอายุ ๙-๑๐ ปี และ ๑๐-๑๔ ปี ให้ผู้แข่งขันเรือบกแต่ละขนาด ยืนคร่อมลำไม้ไผ่ แข่งครั้งละ ๒ ลำ๒. ปล่อยเรือบกออกไปพร้อมกันโดยให้วิ่งในโคลนและจับเวลา
๓. เรือบกลำที่ชนะเลิศ ต้องชนะ ๒ เที่ยวในกำหนด ๓ เที่ยวซึ่งเป็น กติกาเดียวกับการแข่งขันเรือยาวทั่วไป
๔. ความสนุกสนานในการแข่งขันเรือบกอยู่ที่ผู้แข่งขันเรือบกในแต่ละลำจะต้องวิ่งลุยโคลนโดยพร้อมเพียงกัน ซึ่งถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดเสียจังหวะ หรือไม่พร้อมกับคนอื่น ๆ เรือบกก็จะพากันล้มลงคลุกโคลนตมแล้วทุกคนต้องวิ่งจนกว่าจะถึงเส้นชัย
โอกาสในการแข่งขันเรือบก
แต่เดิมบริเวณหลังวัดเนินกุ่ม ตำบลเนินกุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลกมีลำคลองสามารถแข่งขันเรือยาวเป็นประจำทุกปี ต่อมาแม่น้ำลำคลองตื้นเขิน ชาวตำบลเนินกุ่ม จึงจัดการละเล่นพื้นบ้าน "การแข่งขันเรือบก" ขึ้นในงานประจำปีของวัดเนินกุ่ม ระหว่าง วันแรม ๑-๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ของทุกปี (ประมาณเดือนกันยายน)
คุณค่าของการแข่งขันเรือบก
เป็นการส่งเสริมการออกกำลังกาย ฝึกความขยัน อดทน มานะพยายาม เป็นการส่งเสริมความสามัคคีและฝึกเด็กให้รู้จักมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะและรู้อภัย
= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =
ชื่อ มังคละ (thnamu11802)
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
๑. กลองมังคละ เป็นกลองหนังหน้าเดียวขนาดเล็กทำจากไม้ขนุน หน้ากลองมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕ นิ้ว หุ้มด้วยหนัง กลองยาวประมาณ ๑๐ นิ้ว๒. ปี่ มีลักษณะคล้ายปี่ชวา ๑ เลา
๓. กลองสองหน้า ๒ ขนาด ขนาดใหญ่ เรียกว่ากลองยืน ขนาดเล็กเรียกว่า กลองหลอน ตีจังหวะขัดล้อกัน
๔. เครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ ฆ้อง ๓ ใบ แขวนอยู่บนคานหาม ฉิ่ง และฉาบใหญ่ ๒
วิธีการเล่น
มีผู้ถือหรือสะพายกลองไว้เบื้องหลัง ให้ผู้เล่นอีกคนถือหวายยาวประมาณ ๑๗ นิ้ว ๒ อัน แล้วเดินตีกลองไปตามจังหวะเมื่อตีจะเกิดเสียงดัง โกร๊ก ๆโอกาส
มังคละ มักนิยมเล่นในงานมงคลต่างๆเพื่อความสนุกสนานครื้นเครง เช่น งานแห่นาค แห่กฐิน งานกลางแจ้งต่าง ๆ