ความสำคัญ
การทำพิธีสืบชะตาเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ที่ประสบเคราะห์กรรมหรือผู้ป่วย ให้กลับคืนสู่สภาพปกติ และเพื่อเป็นสิริมงคล ขับไล่สิ่งเลวร้ายให้ผ่านพ้นไปได้พิธีกรรม
การประกอบพิธีสืบชะตานั้น มักทำกันในตอนเช้าถึงเที่ยงวันเท่านั้น ผู้ที่จะสืบชะตาจะเป็นผู้กำหนดวันประกอบพิธี เมื่อถึงวันประกอบพิธีจะนิมนต์พระสงฆ์มา ๑ รูป หรือ ๔ รูปก็ได้ แต่ไม่เกิน ๕ รูป และจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้ในการประกอบพิธีสืบชะตา ดังนี้๑. ไม้ง่ามค้ำศรี ซึ่งเป็นไม้ง่ามขนาดเล็ก จำนวนเท่ากับหรือมากกว่าอายุของผู้สืบชะตาประมาณ ๒-๓ อันก็ได้
๒. ไม้ง่ามขนาดเขื่อง ๓ อัน แล้วนำไม้ง่ามค้ำศรีมามัดติดไม้ง่ามใหญ่โดยแบ่งเป็นมัด ๆ เท่า ๆ กัน ๓ มัด
๓. กระทงกาบกล้วย (สะตวง) ข้างในใส่ หมาก เมี่ยง พลู บุหรี่ ข้าวต้ม ขนมต่าง ๆ ปักช่อ (ธงสามชายทำด้วยกระดาษสีต่าง ๆ) รอบ ๆ กระทง ๙ อัน
๔. ขันตั้ง เป็นพานใส่กรวยหมากพลู ๘ อัน กรวยดอกไม้ธูปเทียน ๘ อัน กระทงเล็ก ๆ ใส่ข้าวเปลือก ข้าวสาร อย่างละ ๑ อัน ผ้าขาว ผ้าแดง หมาก ๑๓ เส้น เบี้ย ๑๓ อัน
๕. หน่อกล้วย หน่ออ้อย กระบอกข้าวเปลือก กระบอกข้าวสาร กระบอกน้ำ กระบอกทราย สะพานลวดเงิน สะพานลวดทอง เมื่อจัดหาอุปกรณ์ครบแล้ว พอได้เวลาพระสงฆ์จะมาถึงและทำพิธีให้กับผู้ที่จะสืบชะตา โดยเรียกขวัญสะเดาะเคราะห์ และนำสิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้ไปไว้ที่ต้นโพธิ์หรือต้นศรี